เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 5. ตติยอุปนิสาสูตร
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทามี
วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ
ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก กระพี้
แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ทุติยอุปนิสาสูตรที่ 4 จบ

5. ตติยอุปนิสาสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเหตุให้ถูกขจัด สูตรที่ 3
[5] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ฯลฯ ท่าน
พระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติของบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิของบุคคลผู้มีปีติวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ปัสสัทธิไม่มี สุขของบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสุขไม่มี
สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มีสุขวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี
ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่อ
ยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติชื่อว่ามีเหตุ
ถูกขจัดแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะของบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูก
ขจัดแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :395 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต 1. นิสสยวรรค 5. ตติยอุปนิสาสูตร
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เมื่ออวิปปฏิสาร
ไม่มี ปราโมทย์ของบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว ฯลฯ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติชื่อว่ามีเหตุถูกขจัดแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้ที่
มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความ
บริบูรณ์ ฉะนั้น
อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
เมื่อปราโมทย์มี ปีติของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
ปีติมี ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิมี สุขของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสุขมี สัมมาสมาธิของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยสุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมี ยถาภูตญาณทัสสนะของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมี
นิพพิทาของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
นิพพิทามี วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะมี
วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลชื่อว่ามีเหตุ
สมบูรณ์ เมื่ออวิปปฏิสารมี ปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสารชื่อว่ามี
เหตุสมบูรณ์ ฯลฯ เมื่อวิราคะมี วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
วิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ สะเก็ด เปลือก
กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น
ตติยอุปนิสาสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :396 }